Page 12 - รายงานวิจัย เรื่องการพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
P. 12
Development of the Thai version of the Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A)
จากแนวปฏิบัติทางคลินิกและแนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าในหลายๆ ประเทศจุดเริ่มต้น
9-13
ที่ส�าคัญในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า คือการคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยเครื่องมือที่มีมาตรฐาน
9,10
วัยรุ่นทุกคนควรได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในระบบโรงเรียนไทย มีการคัดกรองปัญหา
สุขภาพจิตในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้แบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อน (the Strength and Difficulties
Questionnaire: SDQ) แต่แบบประเมินดังกล่าวมีข้อค�าถามเกี่ยวกับปัญหาทางอารมณ์เพียง 5 ข้อ และไม่ได้
14
สร้างขึ้นเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าโดยตรง ส่วนเครื่องมือที่เฉพาะส�าหรับคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่มีใช้ใน
ปัจจุบัน ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children’s Depression Inventory: CDI) ซึ่งเหมาะกับ
กลุ่มเด็กอายุ 7-17 ปี และแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Centre for Epidemiologic
15
16
Studies-Depression Scale: CES-D) ซึ่งเหมาะกับวัยรุ่นอายุ 16-18 ปี ซึ่งแบบคัดกรองทั้งสองนี้ถูกใช้
อย่างแพร่หลายในคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น อย่างไรก็ตาม เครื่องมือดังกล่าวยังไม่ถูกน�ามาใช้ในหน่วยบริการ
17
สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งถือเป็น
หน่วยบริการด่านหน้าที่วัยรุ่นจะเข้าถึงบริการเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจมาจากจ�านวนข้อที่ค่อนข้างมาก และมีระบบ
การให้คะแนนที่ยุ่งยากซับซ้อน ร่วมทั้งบุคลากรสาธารณสุขยังมีความสับสนในการเลือกใช้แบบประเมิน เนื่องจาก
ช่วงอายุที่ทับซ้อนกัน ส่วนแบบประเมินภาวะซึมเศร้าที่ใช้งานง่ายและข้อค�าถามสั้นที่ใช้อย่างแพร่หลาย
คือแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 ค�าถาม (9Q) และแบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย PHQ-9 (Patient Health
Questionnaire: PHQ-9) แต่เครื่องมือทั้งสองนี้ยังไม่มีการท�าวิจัยในกลุ่มประชากรเด็กและวัยรุ่น จึงยังไม่ถูกน�า
18,19
มาใช้คัดกรองวัยรุ่นอย่างแพร่หลายนัก จะเห็นได้ว่า ในประเทศไทย ยังขาดแคลนเครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะ
ซึมเศร้าที่เหมาะสมกับวัยรุ่น ที่สามารถน�ามาใช้ได้สะดวกส�าหรับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ
แบบประเมิน Patient Health Questionnaire for Adolescents (PHQ-A) เป็นแบบประเมินที่ถูก
แนะน�าให้ใช้ในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับนานาชาติ 20-24 ซึ่งพัฒนามาจากแบบประเมิน Patient
19
Health Questionnaire (PHQ-9) โดยปรับข้อค�าถามและท�าการศึกษาในกลุ่มประชากรวัยรุ่นโดยเฉพาะ
แบบประเมิน PHQ-9 และ PHQ-A สามารถน�าไปใช้ส�าหรับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าทั้งในคลินิก และในวัยรุ่น
ทั่วไปในโรงเรียนและชุมชน รวมทั้งยังใช้ติดตามความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าและติดตามผลการรักษาอีกด้วย
21-24
ที่ส�าคัญ ผู้พัฒนาแบบประเมินดังกล่าวได้อนุญาตให้ใช้ได้และแปลเป็นภาษาอื่นได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก 19,20
จึงท�าให้มีการน�าไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
25
และถูกแปลอีกหลายภาษา เช่น จีน และอินเดีย 26
ในปี พ.ศ. 2560 – 2561 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ จึงด�าเนินการโครงการวิจัย
และพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (PHQ-A) ฉบับภาษาไทย โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อให้ได้เครื่องมือ
ในการประเมินภาวะซึมเศร้าที่เหมาะส�าหรับวัยรุ่นไทย อายุ 11 – 20 ปี และได้มาตรฐานทางวิชาการ ส�าหรับ
หน่วยงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในการวางแผนช่วยเหลือและส่งเสริมป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นต่อไป
2 2
รายงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น